You are here: Home / งานวิจัย / โครงการวิจัย / แนวทางการวางแผนด้านผังเมืองเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วมและแนวทางการจัดการน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน จังหวัดสุราษณ์ธานี

แนวทางการวางแผนด้านผังเมืองเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วมและแนวทางการจัดการน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน จังหวัดสุราษณ์ธานี

Urban Planning as Mechanism to Cope with Climate Change Risk: Case study on flood risk and flood management in Punpin, Suratthani

คณะผู้วิจัย

ชื่อหน่วยงาน
ดร.วนารัตน์ กรอิสรานุกูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.นวลวรรณ ทวยเจริญ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร
นางสาวดารณี  คงกลิ่น สำนักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุราษณ์ธานี

 

ระยะเวลาดำเนินการ

10 เดือน [กย 2554 - กค 2555]

 

รายละเอียดโดยย่อ

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1) ศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการใช้ที่ดินในเขตผังเมืองรวมพุนพินต่อความเสี่ยงน้ำท่วมของชุมชน

2) วิเคราะห์ความสามารถในการปรับตัวของชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวขอ้งต่อสถานการณ์น้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน

3) วิเคราะห์แนวโนม้ ความเสี่ยงน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพินต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใชที้่ดินในอนาคต

4) เสนอทางเลือกในการบริหารจัดการพื้นที่ของชุมชนเพื่อรับมือต่อความเสี่ยงน้ำท่วมในอนาคต

 

ขั้นตอนการศึกษาและวิธีดำเนินการวิจัย

การดำเนินการวิจยั นี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วนประกอบดว้ ย

1) การศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางกายภาพและการใชที้่ดินต่อความเสี่ยงน้ำท่วมในเขตผงั เมืองรวมพุนพิน มีการดำเนินการดังนี้

1) การเก็บรวบรวมขอ้ มูลการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการใชที้่ดินในเขตผงั เมืองรวม ปัจจัยทางผังเมืองที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการใชที้่ดิน ขอ้ มูลน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวม ลักษณะทางกายภาพและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงน้ำท่วม และจัด ทำฐานข้อมลู พื้นที่และพื้นที่น้ำท่วมดว้ ย GIS

2) วิเคราะห์ความเสี่ยงน้ำท่วมโดยบ่งชี้ระดับของโอกาสหรือความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมบริเวณต่างๆในเขตพื้นที่ศึกษาและจดั ทำแผนที่น้ำท่วม (Flood Map) วิเคราะห์ความสัมพันธ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเขตผงั เมืองรวมต่อสถานการณ์น้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

2) การศึกษาวิเคราะห์ความสามารถในการปรับตัวของชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อปัญหาน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน มีการดำเนินการดังนี้

1) เก็บรวบรวมขอ้ มลู การบริหารจดั การน้ำท่วมและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์น้ำท่วมและการปรับตัวของชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการเก็บข้อมูลโดยการรวบรวมเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้ าหมาย และการสาํ รวจความคิดเห็นของประชนดว้ ยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก

2) วิเคราะห์ความเหมาะสมของนโยบายและกลไกด้านการบริหารจดั การน้ำท่วม การรับรู้และการตระหนกั ของชุมชนต่อปัญหาน้ำท่วม ผลกระทบน้ำท่วมต่อชุมชนในเขตผงั เมืองรวม

3) การประเมินการรับมือต่อปัญหาน้ำท่วมของหน่วยงานทอ้งถิ่นและประชาชนในเขตผังเมืองรวม

3) การศึกษาวิเคราะห์ความสามารถในการปรับตัวของชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อปัญหาน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน มีการดำเนินการดังนี้

1) การเก็บรวบรวมขอ้ มูลแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากผูู้ชี่ยวชาญและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

2) วิเคราะห์ความเสี่ยงน้ำท่วมของชุมชนต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสภาพภูมิอากาศ

3) ประเมินความสามารถของชุมชนในการรับมือต่อปัญหาน้าํ ท่วมในอนาคต

4) การศึกษาวิเคราะห์เพื่อเสนอทางเลือกในการบริหารจัดการพื้นที่ของชุมชนเพื่อรับมือต่อความเสี่ยงน้ำท่วมในอนาคต โดยมีรายละเอียดการศึกษา ดังนี้

1) เก็บรวบรวมขอ้ มลู ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงจากน้ำท่วมในอนาคต

2) สัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อย

3) ประชุมระดมความคิดเห็นจากชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

4) วิเคราะห์และประเมินทางเลือกของชุมชนในเขตผงั เมืองรวมพุนพินต่อการรับมือต่อความเสี่ยงน้ำท่วมในอนาคต

5)จัดประชุมสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาอนั ก่อให้เกิดการรับรู้และตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตวั เพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและรวบรวมความคิดเห็นในการผลักดนั แนวคิดด้านการบริหารจดั การพื้นที่เพื่อรับมือกบั ความเสี่ยงน้ำท่วมเพื่อควบรวมเข้ากับแผนการพัฒนาต่างๆ

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ไดข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุมชนและแนวโน้มของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใชที้่ดินต่อปัญหาน้ำท่วม และฐานข้อมูลกายภาพพื้นที่และแผนที่น้ำท่วมที่สามารถนำไปใช้ในวางแผนการบริหารจัดการน้ำท่วม การวางผังเมืองและการพัฒนาอื่นๆ ที่เกี่ยวขอ้ ง

2) ช่วยสร้างความเข้าใจต่อความสามารถในการปรับตัวของชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อปัญหาน้ำท่วมอันเกิดจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทิศทาง การใชที้่ดินในอนาคต

3) สามารถนำแนวทางการจัดการน้ำท่วมที่ได้รับไปบูรณาการในพื้นที่เพื่อช่วยลดความเสี่ยงหรือลดความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

4) สร้างความเข้าใจต่อปัจจยั ที่มีผลต่อความสำเร็จ และ/หรือ ข้อจำกัด ในการผลักดันแนวคิดด้านการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อรับมือกับความเสี่ยงน้ำท่วมในระยะยาวโดยการควบรวมเข้ากับแผนการพฒันาในระดบัต่างๆ

 

สรุปผลการศึกษา

การศึกษานี้ได้ศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการใช้ที่ดินในเขตผังเมืองรวมพุนพิน ต่อความเสี่ยงน้ำท่วมของชุมชน ทำการวิเคราะห์ความสามารถในการปรับตัวของชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อสถานการณ์น้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน และทำการวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพินต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ที่ดินในอนาคต รวมไปถึงเสนอทางเลือกในการบริหารจัดการพื้นที่ของชุมชนเพื่อรับมือต่อความเสี่ยงน้ำท่วมในอนาคต ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าชุมชนเมืองพุนพินมีทำเลที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัย การใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสมเป็ นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ความเสี่ยงน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพินสูงขึ้น ผลประเมินระดับความสูงและจัดทำแผนที่ความสูงน้ำท่วมในปี 2554 ด้วย GIS พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตผังเมืองรวมพุนพินประสบปัญหาน้ำท่วมในปี 2554 ความสูงของระดับน้ำอยู่ระหว่าง 0-6.0 เมตร บริเวณที่ระดับน้ำท่วมสูงมากได้แก่ บริเวณที่ลุ่มต่ำฝั่งทิศใต้ของชุมชน บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมน้อย คือ พื้นที่ฝั่งตะวันตก การประเมินความเสียหายของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในปี 2554 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบด้านบ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหาย กลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบมาก ที่สุดคือกลุ่มอาชีพค้าขาย ผลการศึกษาการปรับตัวของชุมชนต่อปัญหาน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่างรับรู้และเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแต่ยังมีข้อจำกัดในด้านความรู้ความเข้าใจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวมีลักษณะเป็นแบบปัจเจก ขาดการประสานงานระหว่างบุคคลและองค์กร การวางแผนด้านผังเมืองเพื่อลดความเสี่ยงมีแนวทางสำคัญ 5 ประการคือการพัฒนาเมืองแบบ 2 ศูนย์กลาง การปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ที่ดิน การออกข้อกำหนดอาคารในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม การลดปัญหาน้ำท่วมโดยฟลัดเวย์และพื้นที่รับน้ำ และการก่อสร้างและบำรุงรักษากำแพงป้องกันน้ำท่วม การศึกษานี้ได้ศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการใช้ที่ดินในเขตผังเมืองรวมพุนพิน ต่อความเสี่ยงน้ำท่วมของชุมชน ทำการวิเคราะห์ความสามารถในการปรับตัวของชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อสถานการณ์น้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน และทำการวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพินต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ที่ดินในอนาคต รวมไปถึงเสนอทางเลือกในการบริหารจัดการพื้นที่ของชุมชนเพื่อรับมือต่อความเสี่ยงน้ำท่วมในอนาคต ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าชุมชนเมืองพุนพินมีทำเลที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัย การใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสมเป็ นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ความเสี่ยงน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพินสูงขึ้น ผลประเมินระดับความสูงและจัดทำแผนที่ความสูงน้ำท่วมในปี 2554 ด้วย GIS พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตผังเมืองรวมพุนพินประสบปัญหาน้ำท่วมในปี 2554 ความสูงของระดับน้ำอยู่ระหว่าง 0-6.0 เมตร บริเวณที่ระดับน้ำท่วมสูงมากได้แก่ บริเวณที่ลุ่มต่ำฝั่งทิศใต้ของชุมชน บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมน้อยคือพื้นที่ฝั่งตะวันตก การประเมินความเสียหายของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในปี 2554 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบด้านบ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหาย กลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มอาชีพค้าขาย ผลการศึกษาการปรับตัวของชุมชนต่อปัญหาน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่างรับรู้และเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแต่ยังมีข้อจำกัดในด้านความรู้ความเข้าใจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวมีลักษณะเป็นแบบปัจเจก ขาดการประสานงานระหว่างบุคคลและองค์กร การวางแผนด้านผังเมืองเพื่อลดความเสี่ยงมีแนวทางสำคัญ 5 ประการคือการพัฒนาเมืองแบบ 2 ศูนย์กลาง การปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ที่ดิน การออกข้อกำหนดอาคารในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม การลดปัญหาน้ำท่วมโดยฟลัดเวย์และพื้นที่รับน้ำ และการก่อสร้างและบำรุงรักษากำแพงป้ องกันน้ำท่วม

 

ดาวน์โหลด: รายงานฉบับสมบูรณ์