You are here: Home / งานวิจัย / โครงการวิจัย / การปรับตัวของเกษตรกรชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

การปรับตัวของเกษตรกรชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

Adaptation of Paddy Farmer in KulaLonghai to Climate Change

 

คณะผู้วิจัย

ชื่อหน่วยงาน
ดร.วิเชียร เกิดสุข สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นางสาวพัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายกฤติภาส วิชาโคตร สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ระยะเวลาดำเนินการ

1  ปี  [กย 2554 - กย 2555]

 

รายละเอียดโดยย่อ

โครงการมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบริบทของน้าต่อความเป็นอยู่ การดารงชีพ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลุ่มน้าเสียวใหญ่ในปัจจุบัน 2) ศึกษาความเสี่ยงในวิถีการดารงชีพและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ภายใต้แรงขับดันของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐกิจและสังคมในอนาคต 3) ศึกษาผลสืบเนื่องของกลยุทธ์การปรับตัวของแต่ละชุมชนที่มีต่อชุมชน วิธีการศึกษาประกอบด้วย 4 วิธีการคือ 1. ประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน (RRA) 2. การจัดทาภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต 3. การจัดทาภาพฉายการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ภาวะเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต และ 4. การปฏิบัติการมีส่วนร่วมของประชาชน (PAR)

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ชุมชนในลุ่มน้าเสียวใหญ่มีความผูกพันกับทรัพยากรน้าและใช้ประโยชน์จากแม่น้าทั้งในการเกษตรและสาธารณูปโภค ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมีผลต่อความเป็นอยู่ การดารงชีพ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ระบบเกษตรของทุกชุมชนศึกษามีความเสี่ยงทั้งน้าท่วมและฝนแล้ง มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวเป็นอย่างมาก แต่วิธีการที่ชุมชนดาเนินการในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ส่งผลให้ระบบการเกษตรของแต่ละชุมชนในปัจจุบันมีความเสี่ยงและความเปราะบางแตกต่างกันไป การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตส่งผลให้ระบบเกษตรมีความเปราะบางมากกว่าปัจจุบัน

สรุปและอภิปรายผล การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของชุมชนที่มุ่งแก้ปัญหาเพียงชุมชนใดชุมชนหนึ่งในอดีต อาจไม่ได้แก้ปัญหาหรือลดความเสี่ยงในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ อาจกลับเพิ่มความเสี่ยงและผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง แต่ดาเนินการร่วมกันหลายชุมชนและมีการมองภาพรวมทั้งระบบลุ่มน้าจะนาไปสู่การลดความเสี่ยง ลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ดีกว่า ทั้งช่วยลดความขัดแย้งและประหยัดงบประมาณ นอกจากนี้ การวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับชุมชนสามารถดาเนินการควบคู่ร่วมกับการวางแผนพัฒนาของชุมชนตามปกติโดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตรวมอยู่ด้วย

ข้อเสนอแนะ การขับเคลื่อนและขยายผลการวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับพื้นที่ชุมชนไปสู่การกาหนดนโยบายและแผนงานขององค์กร

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาบริบทของน้าต่อความเป็นอยู่ การดารงชีพ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลุ่มน้าเสียวใหญ่ในปัจจุบัน

2. เพื่อศึกษาความเสี่ยงในวิถีการดารงชีพและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ภายใต้แรงขับดันของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

3. เพื่อศึกษาผลสืบเนื่องของกลยุทธ์การปรับตัวของแต่ละชุมชนที่มีต่อต่อชุมชนอื่น

 

ขั้นตอนการศึกษาและวิธีดำเนินการวิจัย

1. การคัดเลือกพื้นที่

การคัดเลือกพื้นที่ศึกษาใช้ข้ อมูลผลการวิเคราะห์พื้นที่แห้งแล้งและน้้าท่วมซ้้าซากของกรมพัฒนาที่ดิน และพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและน้้าท่วมของกรมชลประทาน ประกอบกับข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภูมินิเวศน์ของพื้นที่และภูมิหลังของชุมชนตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันจ้านวน 6 พื้นที่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ประกอบกับการลงส้ารวจพื้นที่จริง

2. การสารวจและเก็บข้อมูลความเสี่ยง ความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรในอดีต-ปัจจุบัน

การศึกษาความเสี่ยง ความไวต่อความเสี่ยง และการปรับตัวของเกษตรในพื้นที่ศึกษาระดับชุมชนดังกล่าว ด้าเนินการใน 2 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนแรก การส้ารวจและเก็บข้อมูลความเสี่ยง ความไวต่อความเสี่ยง ความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรในชุมชนต่อผลกระทบจากสภาพอากาศผันแปรในอดีตถึงปัจจุบัน ใช้วิธีการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน (RRA) โดยการตั้งประเด็นค้าถามแบบปลายเปิด ด้าเนินสัมภาษณ์ตัวแทนเกษตรกร ผู้รู้และผู้น้าในชุมชน และตัวแทนบุคคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนต้าบลและหรือเทศบาลต้าบล) รวมจ้านวนทั้งสิ้น 120 คน เพื่อให้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับความเสี่ยง ความไวต่อความเสี่ยง ความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรในชุมชนต่อผลกระทบจากสภาพอากาศผันแปรในอดีตถึงปัจจุบัน อันเป็นข้อมูลที่น้าไปสู่การด้าเนินการในขั้นตอนที่สองต่อไป

ขั้นตอนที่สอง ด้าเนินการจัดประชุมกลุ่มตัวแทนชุมชนพื้นที่ศึกษาทั้ง 6 ชุมชน ด้วยวิธีการปฏิบัติการมีส่วนร่วมของประชาชน (PAR) ในแต่ละชุมชนศึกษา มีผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มทั้งหมดจ้านวน 107 คน เพื่อให้ทราบถึงบริบทของทรัพยากรน้้าต่อความเป็นอยู่ การด้ารงชีพ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ และเพื่อสรุปความเสี่ยง ความไวต่อความเสี่ยง และความสามารถในการปรับตัวของแต่ละชุมชนในปัจจุบัน

3. การจัดทาภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต

จัดท้าภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตจากแบบจ้าลองอากาศระดับโลก ECHAM4 ค้านวณเพิ่มรายละเอียดโดยโมเดลภูมิอากาศระดับภูมิภาค PRECIS ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบ A 2 ในพื้นที่ลุ่มน้้าชี-มูล ซึ่งเป็นลุ่มน้้าหลักของลุ่มน้้าเสียวใหญ่ (ลุ่มน้้าเสียวใหญ่เป็นลุ่มน้้าสาขาหนึ่งของลุ่มน้้ามูล) ระหว่างช่วงปีปัจจุบัน พ.ศ.2533-2552 และปีอนาคต พ.ศ. 2583-2602

4. การจัดทาภาพฉายทุ่งกุลาร้องไห้จากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตภาวะเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

ภาพฉายทุ่งกุลาร้องไห้จากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตภาวะเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ด้าเนินการโดยการสังเคราะห์แผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการด้าเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และปัจจัยอื่นที่เป็นแรงขับดันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 แผนพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัดร้อยเอ็ด โครงการพัฒนาลุ่มน้้าเสียวใหญ่ เป็นต้น

5. การจัดทาความเสี่ยงต่อวิถีการดารงชีพ และกิจกรรมของชุมชนภายใต้แรงขับดันของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐกิจ และสังคมในอนาคต

ด้าเนินการจัดประชุมกลุ่มตัวแทนชุมชนพื้นที่ศึกษาทั้ง 6 ชุมชน ด้วยวิธีการปฏิบัติการมีส่วนร่วมของประชาชน (PAR) ในแต่ละชุมชนศึกษา มีผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มจ้านวน 56 คน โดยนักวิจัยของโครงการฯ น้าเสนอ1) ผลสรุปความเสี่ยง ความไวต่อความเสี่ยง และความสามารถในการปรับตัวของแต่ละชุมชนในปัจจุบัน 2) น้าเสนอภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตจากแบบจ้าลองอากาศในอนาคตบริเวณลุ่มน้้าชี-มูลและลุ่มน้้าเสียวใหญ่ และ 3) ภาพฉายทุ่งกุลาร้องไห้จากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตภาวะเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต แก่ตัวแทนชุมชนพื้นที่ศึกษาทั้ง 6 ชุมชน โดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยง ยุทธศาสตร์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของแต่ละชุมชนในอนาคต ตลอดจนแผนชุมชนของแต่ละชุมชนที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับความเปราะบางของชุมชน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

6. การจัดทายุทธศาสตร์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศร่วมกันของทุกชุมชนศึกษา

จัดท้ายุทธศาสตร์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศร่วมกันของทุกชุมชนศึกษา โดยการจัดประชุมร่วมของผู้น้าและตัวแทน อปท. และผู้รู้ในชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ศึกษาทั้ง 6 แห่ง มีผู้เข้าร่วมประชุมจ้านวน 15 คน พร้อมวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis) และวิเคราะห์และประเมินสถานภาพ (SWAT analysis) แผนงานขององค์การบริหารส่วนต้าบล และจัดท้าข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการลุ่มน้้าเสียวใหญ่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. กลยุทธ์ แนวทางในการปรับตัวของแต่ละชุมชนและการปรับตัวร่วมกันของกลุ่มตาบลในลุ่มน้าเสียวใหญ่

2. แผนชุมชนของแต่ละชุมชนที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับความเปราะบางของชุมชน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

3. ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการลุ่มน้าเสียวใหญ่

 

สรุปผลการศึกษา

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิใหญ่ของประเทศ สภาพอากาศมีความแปรปรวนค่อนข้างมาก ปริมาณและจ้านวนวันฝนตกแตกต่างกันในแต่ละปี ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลท้าให้เกิดความแห้งแล้งและน้้าท่วมเป็นประจ้า ผลผลิตข้าวในพื้นที่มีความแตกต่างกันและมีความแปรปรวนในแต่ละพื้นที่ แต่ละปี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งวิธีการปรับตัวของชาวนาในแต่ละภูมินิเวศน์มีวิธีการและกลยุทธ์ทั้งที่แตกต่างและเหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นกับความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศในแต่ละปี สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม และความเปราะบางของเกษตรกรและชุมชน

ปัจจุบัน แม้ว่าการรับมือกับความเสี่ยงของสภาพอากาศนั้น แต่ละชุมชน / แต่ละพื้นที่ อาจมีการด้าเนินการไปกันในระดับหนึ่งแล้ว แต่การด้าเนินการดังกล่าวนั้นอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละชุมชน ขึ้นกับเป้าหมายและข้อจ้ากัดต่างๆ ของแต่ละชุมชน อย่างไรก็ดี การด้าเนินการของชุมชนหนึ่ง หรือภาคส่วนหนึ่ง อาจส่งผลถึงชุมชนอื่นหรือภาคส่วนอื่น โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันหรือใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน หรือมีปฏิสัมพันธ์ในทางอื่นๆ ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม การด้าเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคตนั้น หากด้าเนินการโดยขาดความระวังก็อาจส่งผลให้ความเสี่ยงของพื้นที่ข้างเคียงเพิ่มสูงขึ้นได้ การศึกษานี้เป็นการมองประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทเชิงพื้นที่ในลักษณะของพื้นที่ที่มีขนาดที่แตกต่างกัน (Multiple scales) โดยเน้นการท้าการศึกษากลุ่มต้าบล ซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดในการก้าหนดนโยบายชุมชนในกระบวนการปกครองส่วนท้องถิ่นจ้านวน 5 ต้าบล 6 พื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้คือ1. องค์การบริหารส่วนต้าบลน้้าอ้อม ต้าบลน้้าอ้อม อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด2. องค์การบริหารส่วนต้าบลเกษตรวิสัย ต้าบลเกษตรวิสัย อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด3. องค์การบริหารส่วนต้าบลกู่กาสิงห์ ต้าบลกู่กาสิงห์ อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด4. เทศบาลต้าบลกู่กาสิงห์ ต้าบลกู่กาสิงห์ อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด5. เทศบาลต้าบลเมืองบัว ต้าบลเมืองบัว อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด6. เทศบาลต้าบลหินกอง ต้าบลหินกอง อ้าเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดการศึกษาประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ 1) การคัดเลือกพื้นที่ 2) การส้ารวจและเก็บข้อมูลความเสี่ยง ความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรในอดีต-ปัจจุบัน 3) การจัดท้าภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต 4) การจัดท้าภาพฉายทุ่งกุลาร้องไห้จากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ภาวะเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต 5) การจัดท้าความเสี่ยงต่อวิถีการด้ารงชีพ และกิจกรรมของชุมชนภายใต้แรงขับดันของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐกิจและสังคมในอนาคต 6) การจัดท้ายุทธศาสตร์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศร่วมกันของทุกชุมชนศึกษา การศึกษาในขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธีการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน(RRA) และการปฏิบัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกชุมชน(PAR) ส่วนขั้นตอนที่ 5 และ 6 ใช้วิธีการที่สอง ผลการศึกษาพบว่า

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิใหญ่ของประเทศ สภาพอากาศมีความแปรปรวนค่อนข้างมาก ปริมาณและจ้านวนวันฝนตกแตกต่างกันในแต่ละปี ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลท้าให้เกิดความแห้งแล้งและน้้าท่วมเป็นประจ้า ผลผลิตข้าวในพื้นที่มีความแตกต่างกันและมีความแปรปรวนในแต่ละพื้นที่ แต่ละปี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งวิธีการปรับตัวของชาวนาในแต่ละภูมินิเวศน์มีวิธีการและกลยุทธ์ทั้งที่แตกต่างและเหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นกับความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศในแต่ละปี สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม และความเปราะบางของเกษตรกรและชุมชนปัจจุบัน แม้ว่าการรับมือกับความเสี่ยงของสภาพอากาศนั้น แต่ละชุมชน / แต่ละพื้นที่ อาจมีการด้าเนินการไปกันในระดับหนึ่งแล้ว แต่การด้าเนินการดังกล่าวนั้นอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละชุมชน ขึ้นกับเป้าหมายและข้อจ้ากัดต่างๆ ของแต่ละชุมชน อย่างไรก็ดี การด้าเนินการของชุมชนหนึ่ง หรือภาคส่วนหนึ่ง อาจส่งผลถึงชุมชนอื่นหรือภาคส่วนอื่น โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันหรือใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน หรือมีปฏิสัมพันธ์ในทางอื่นๆ ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม การด้าเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคตนั้น หากด้าเนินการโดยขาดความระวังก็อาจส่งผลให้ความเสี่ยงของพื้นที่ข้างเคียงเพิ่มสูงขึ้นได้ การศึกษานี้เป็นการมองประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทเชิงพื้นที่ในลักษณะของพื้นที่ที่มีขนาดที่แตกต่างกัน (Multiple scales) โดยเน้นการท้าการศึกษากลุ่มต้าบล ซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดในการก้าหนดนโยบายชุมชนในกระบวนการปกครองส่วนท้องถิ่นจ้านวน 5 ต้าบล 6 พื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้คือ1. องค์การบริหารส่วนต้าบลน้้าอ้อม ต้าบลน้้าอ้อม อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด2. องค์การบริหารส่วนต้าบลเกษตรวิสัย ต้าบลเกษตรวิสัย อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด3. องค์การบริหารส่วนต้าบลกู่กาสิงห์ ต้าบลกู่กาสิงห์ อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด4. เทศบาลต้าบลกู่กาสิงห์ ต้าบลกู่กาสิงห์ อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด5. เทศบาลต้าบลเมืองบัว ต้าบลเมืองบัว อ้าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด6. เทศบาลต้าบลหินกอง ต้าบลหินกอง อ้าเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดการศึกษาประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ 1) การคัดเลือกพื้นที่ 2) การส้ารวจและเก็บข้อมูลความเสี่ยง ความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรในอดีต-ปัจจุบัน 3) การจัดท้าภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต 4) การจัดท้าภาพฉายทุ่งกุลาร้องไห้จากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ภาวะเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต 5) การจัดท้าความเสี่ยงต่อวิถีการด้ารงชีพ และกิจกรรมของชุมชนภายใต้แรงขับดันของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐกิจและสังคมในอนาคต 6) การจัดท้ายุทธศาสตร์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศร่วมกันของทุกชุมชนศึกษา การศึกษาในขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธีการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน(RRA) และการปฏิบัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกชุมชน(PAR) ส่วนขั้นตอนที่ 5 และ 6 ใช้วิธีการที่สอง ผลการศึกษาพบว่า

1. ข้อมูลพื้นฐานและบริบทของทรัพยากรน้้า ต่อความเป็นอยู่ การด้ารงชีพ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ในปัจจุบัน

พื้นที่ศึกษาทั้ง 6 ชุมชนเป็นชุมชนมีพื้นที่อยู่ติดกันและอยู่ในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ในทุ่งกุลาร้องไห้ มีแม่น้้าเสียวใหญ่ แม่น้้าเสียวน้อยและแม่น้้าสาขาไหลผ่าน ประชากรของทุกชุมชนมีเชื้อสายไทยอีสาน ในการท้าการเกษตรนอกจากจะใช้น้้าฝนเป็นหลักแล้ว ชุมชนศึกษาทั้งหมดยังใช้ประโยชน์จากแม่น้้าเสียวใหญ่ร่วมกัน บางชุมชนมีการใช้ประโยชน์จากแม่น้้าสาขาของแม่น้้าหรือล้าเสียวใหญ่ที่ไหลผ่าน อาทิ แม่น้้าเตา แม่น้้าเสียวน้อย และแม่น้้ากุดกู่ กิจกรรมของทุกชุมชนมีความผูกพันกับทรัพยากรน้้าและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้้าจากแม่น้้าในหลายประการ คือ 1) การท้าการเกษตรทั้งการปลูกข้าวนาปีและนาปรังโดยการสูบน้้าจากแม่น้้าใส่แปลงนาข้าวในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง 2) น้้าดิบส้าหรับท้าน้้าปะปา ชุมชนส่วนใหญ่ใช้น้้าจากแม่น้้าเป็นแหล่งน้้าดิบส้าหรับการท้าน้้าปะปาของชุมชน รวมถึงการปะปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่ ใช้น้้าจากแม่น้้าเป็นแหล่งน้้าดิบในการผลิตน้้าปะปาเช่นกัน 3) น้้าส้าหรับเลี้ยงปลาและแหล่งอาหารตามธรรมชาติ หลายชุมชนใช้น้้าจากแม่น้้าในการเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ และเป็นแหล่งในการหาปลา จับสัตว์น้้า และเก็บพืชผักตามธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ในและริมแม่น้้าในฤดูฝน 4) แหล่งน้้าส้าหรับปศุสัตว์(โค-กระบือ) หลังการเก็บเกี่ยวข้าว ชาวนาจะปล่อยโคและกระบือลงเลี้ยงในนาข้าวจนถึงสิ้นสุดฤดูแล้งหรือฤดูกาลท้านาในปีต่อไป 5) แหล่งน้้าส้าหรับการปลูกผัก ชุมชนบางชุมชนที่อยู่ใกล้ตลาด ใช้น้้าจากแม่น้้าในการปลูกผักเพื่อจ้าหน่ายตลอดทั้งปี และ 6) สถานที่แข่งเรือประจ้าปี ในอดีตชุมชนอาศัยที่อยู่ติดแม่น้้าเสียวใหญ่และล้าน้้าสาขา

จัดงานประเพณีแข่งเรือระดับหมู่บ้าน/ต้าบลเป็นประจ้า ต่อมาล้าน้้าดังกล่าวตื้นเขิน ปัจจุบันประเพณีแข่งเรือประจ้าปีคงมีอยู่ที่ต้าบลเกษตรวิสัยเท่านั้น

ลุ่มน้้าเสียวใหญ่ ไม่มีแหล่งน้้าต้นทุนจากแหล่งอื่นนอกจากน้้าฝนเช่นลุ่มน้้าอื่น แม่น้้าเสียวใหญ่ เสียวน้อยและแม่น้้าสาขาจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงทุกชุมชน หากปีใด ฝนมีปริมาณน้อย หรือไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปริมาณน้้าในแม่น้้ารวมถึงแม่น้้าสาขาของทั้งสามแม่น้้าจะมีน้้าไม่มากนัก แม่น้้าบางแห่งอาจไม่มีน้้าเหลืออยู่เลยหลังสิ้นสุดฤดูฝน จึงมีผลกระทบต่อการท้านาปีและนาปรัง น้้าปะปาหมู่บ้าน/เทศบาล การจับสัตว์น้้าและการเก็บพืชผักตามธรรมชาติของประชาชนในพื้นที่ หากปีใดฝนมาก ปริมาณน้้าเกินกว่าแม่น้้าจะรับได้ ก็เกิดปัญหาน้้าท่วมโดยเฉพาะช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ส่งผลให้เกิดน้้าท่วมท้าความเสียหายแก่ผลผลิตข้าว ดังนั้นแม่น้้าในลุ่มน้้าเสียวใหญ่จึงมีผลต่อความเป็นอยู่ วิถีชีวิต การด้ารงชีพ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

นโยบายประกันราคาข้าวในปี พ . ศ . 2552/53 ท้าให้เกษตรกรมีหนทางเพิ่มรายได้จากส่วนต่างของการประกันราคาข้าว ส่งผลกระตุ้นให้เกษตรลุ่มน้้าเสียวใหญ่น้าข้าวนาปรังมาปลูกในพื้นที่นับแต่นั้นมา และขยายพื้นที่มากขึ้นในปีถัดมา ประกอบกับนโยบายรับจ้าน้าข้าวในฤดูกาลเพาะปลูก 54 / 55 เป็นต้นมา ก่อให้เกิดโครงการรับจ้าน้าข้าวเกวียนละ 15,000 บาท ชาวนาได้รับเงินสด 15.000 บาททันทีที่ขายข้าวที่ความชื้นที่ 15 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นสิ่งกระต้นให้เกษตรกรปลูกข้าวโดยไม่ค้านึงถึงคุณภาพข้าวทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง ทั้งที่ในอดีตในพื้นที่ไม่เคยมีการปลูกข้าวนาปรังมาก่อน เดิมทีปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 นาปี เพียงปีละครั้ง แต่เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีน้้าชลประทาน การปลูกข้าวนาปรังจึงต้องอาศัยน้้าที่เหลืออยู่ในแม่น้้า เมื่อมีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังมากขึ้น ปริมาณน้้าไม่เพียงพอกับพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ต้นข้าวและผลิตข้าวเสียหายจ้านวนมาก นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องกับน้้าส้าหรับอุปโภคในชุมชนเป็นอย่างมาก

2. ความเสี่ยง การเปิดรับ ความไวต่อผลกระทบ และความสามารถในการรับมือ/ปรับตัวในปัจจุบัน

ระบบการเกษตรหลักและเป็นวิถีการด้ารงชีพของคนทุกชุมชนในลุ่มน้้าเสียวใหญ่คือ การเพาะปลูกข้าว มีทั้งการปลูกข้าวนาปีและนาปรัง การปลูกผักมีเฉพาะบางชุมชนที่อยู่ใกล้ตัวอ้าเภอเกษตรวิสัย ความเสี่ยงของระบบเกษตรและมีผลกระบต่อชุมชนในปัจจุบัน เป็นความเสี่ยงจากน้้าท่วมและฝนแล้ง การปลูกข้าวนาปีจะเสี่ยงต่อการเกิดน้้าท่วมและฝนทิ้งช่วง ข้าวนาปรังและพืชผัก เสี่ยงต่อการขาดน้้าและอุณหภูมิสูง ข้าวนาปรังจะเสี่ยงในช่วงข้าวออกดอกเป็นต้นไป ทั้งนี้ระบบเกษตรของชุมชนศึกษามีความแตกต่างกันในความเสี่ยง การเปิดรับ ความไวต่อผลกระทบจากสภาพอากาศ และความสามารถในการรับมือหรือการปรับตัวต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศจากอดีตถึงปัจจุบัน การปรับตัวของแต่ละชุมชนมีวิธีการและกลยุทธ์ทั้งที่แตกต่างและเหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นกับความแปรปรวนของสภาพอากาศในแต่ละปี แต่วิธีการที่ชุมชนด้าเนินการในปัจจุบันยังไม่เพียงพอในการแก้ปัญหาทั้งน้้าท่วมและฝนแล้ง ที่ผ่านมายังเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นและเป็นเรื่องเอกเทศของแต่ละชุมชน

การกระจายตัวของดินเค็มในพื้นที่ศึกษาโดยกรมพัฒนาที่ดิน จ้านวน 4 ครั้งในทศวรรษที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2538, 2546, 2547 และ พ.ศ. 2549) การกระจายของดินเค็มในพื้นที่ศึกษา ผิวดินมีผลกระทบจากคราบเกลือทั้งคราบเกลือเล็กน้อย เกลือปานกลางและเกลือมาก แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผิวดินที่มีผลกระทบจากคราบเกลือมากและปานกลางมีพื้นที่ลดลงมาก แต่ผิวดินที่มีผลกระทบจากคราบเกลือเล็กน้อย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก การกระจายตัวของดินเค็มที่มีผลกระทบต่อการการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากเกษตรกรมีการจัดการปรับปรุงและป้องกันการเกิดดินเค็มมากขึ้น อาทิ การน้าแกลบข้าวไปใส่ในพื้นที่ ปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา หรืออาจเป็นผลมาจากการที่น้้าท่วมในพื้นที่บ่อยครั้ง จึงช่วยชะล้างความเค็มของของเกลือออกไปจากพื้นที่ ในอนาคต ปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้้าเสียวใหญ่อาจส่งผลให้การกระจายตัวของดินเค็มลดลง จนไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าว หรืออาจกล่าวได้ว่า ดินเค็มอาจไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงต่อผลผลิตข้าวต่อไปในอนาคต

โดยภาพรวมของ 5 ต้าบล ระบบการเกษตรของแต่ละชุมชนในปัจจุบันมีความเปราะบางแตกต่างกันไปกล่าวคือ ระบบการเกษตรของต้าบลน้้าอ้อม ต้าบลเมืองบัว และต้าบลเกษตรวิสัย มีความเปราะบางสูงต่อต่อความแปรปรวนภูมิอากาศที่ผ่านมา ขณะที่ระบบการเกษตรของต้าบลหินกอง และต้าบลกู่กาสิงห์ มีความเปราะบางปานกลางต่อความแปรปรวนภูมิอากาศ

3. ภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต ภายใต้สมมติฐานการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะเพิ่มขึ้นในอนาคตตามแนวทางการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคมของโลกตามแบบ A2 ท้าการเปรียบเทียบภูมิอากาศในพื้นที่ศึกษา ระหว่างช่วงปีปัจจุบัน คือ 2533-2552 และอนาคต 2583-2602

ปริมาณฝนของลุ่มน้้าชี-มูล ในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เปอร์เซนต์ ในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ ปริมาณฝนรวมรายปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 12 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับในช่วงปีปัจจุบัน มีประเด็นที่น่าสังเกตคือ ปริมาณน้้าฝนในฤดูแล้งมีแนวโน้มลดลง (พ.ย.-เมย.) แต่ปริมาณน้้าฝนในช่วงฤดูฝน (พ.ค.-ต.ค.) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

อุณหภูมิสูงสุด ( กลางวัน ) ของลุ่มน้้าชี-มูล ในอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย 1 องศาเซลเซียล และอุณหภูมิต่้าสุด (กลางคืน) ของลุ่มน้้าชี-มูลในอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้น อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป 1.3 องศาเซลเซียล

ความเสี่ยงของการท้านาปีภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต พบว่า โอกาสเกิดอุทกภัยในฤดูการท้านาปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนการท้านาปรัง ความเสี่ยงของอุณหภูมิต่้าที่ส่งผลกระทบต่อการงอกของเมล็ดข้าวมีแนวโน้มลดลง แต่ในช่วงที่ข้าวผสมเกสร ความเสี่ยงของโอกาสเกิดอุณหภูมิวิกฤตที่มีผลต่อการเป็นหมันของข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และความต้องการน้้าของข้าวในฤดูกาลเพาะปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น การลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต ในช่วงปลูกข้าวนาปีจ้าเป็นต้องมีกลไกการแก้ปัญหาน้้าท่วมอย่างเป็นระบบจึงจะลดความสูญเสียผลผลิตข้าวได้ และจ้าเป็นต้องหาน้้าจากลุ่มน้้าชีมาเติมลงในลุ่มน้้าเสียวใหญ่เพื่อรองรับปัญหาฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน และรองรับความต้องการของชุมชนในอนาคตทั้งน้้าเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรในช่งฤดูแล้ง

4. ภาพฉายการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ภาวะเศรษฐกิจ-สังคมพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอนาคต

ผลการตรวจสอบเอกสารจากยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับการด้าเนินงานในทุ่งกุลาร้องไห้ในอนาคต ตลอดจนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 แผนพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและยุทธศาสตร์จังหวัดร้อยเอ็ด แผนพัฒนาลุ่มน้้าเสียวใหญ่กรมทรัพยากรน้้ากับการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ การจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิทุ่งกลาร้องไห้ ตลอดจนปัจจัยอื่นที่เป็นแรงขับดันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ผลการสังเคราะห์ภาพฉายในอนาคตของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ยังคงเน้นการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิเป็นหลัก ทั้งกระบวนการผลิตตามวิธีการเกษตรที่ดีและเกษตรอินทรีย์ ควบคูไปกับการจัดการระบบน้้าในการแก้ไขปัญหาปัญหาการขาดแคลนน้้าและปัญหาน้้าท่วม รวมถึงการพัฒนาโครงการพื้นฐานเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ให้สูง เพื่อพัฒนาไปสู่การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษส่งออกข้าวหอมมะลิและจ้าหน่ายข้าวหอมมะลิด้วยสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแหล่งเรียนรู้คู่อารยธรรมขอม เชื่อมโยงกับเส้นทางอารธรรมขอมในเขตอีสานใต้และประเทศกัมพูชาภายหลังการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2554 เกิดมหาอุทกภัยในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ท้าให้มีกลุ่มนายทุนเข้ามากว้านซื้อที่ดินเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยให้ราคาไร่ละ 80,000-100,000 บาท เพื่อเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม และในปี พ.ศ. 2555 มีการส้ารวจพบบ่อน้้ามันกลางทุ่งกุลาร้องไห้ หลุมส้ารวจ YPT2 ในพื้นที่บ้านโคกกลาง ต้าบลชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ผลการท้าประชาพิจารณ์กับประชาชน 3 ต้าบลที่อยู่ใกล้แปลงส้ารวจ ประชาชนบางส่วนยังกังวลเรื่องมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา ที่จะมีผลกระทบต่อการปลูกข้าวหอมมะลิของโลกที่มีชื่อเสียง สร้างรายได้ให้ประชาชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในแต่ละปีเป็นอย่างมาก หากมีการขุดเจาะน้้ามันจะมีผลกระทบต่อแหล่งปลูกนาข้าวหอมมะลิ ในขณะที่มีประชาชนบางคนได้เตรียมขายที่ดินให้บริษัทส้ารวจน้้ามันในราคาไร่ละ 300,000-1,000,000 บาท จากข้อมูลเป็นไปได้ว่า ในอนาคตบางส่วนของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จะถูกน้าไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นนอกเหนือจากการปลูกข้าว

นอกจากนี้ นโยบายรับจ้าน้าข้าวของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในฤดูกาลเพาะปลูก 54 / 55 เป็นต้นมา ซึ่งรับจ้าน้าข้าวเกวียนละ 15,000 บาท เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกษตรกรปลูกข้าวโดยไม่ค้านึงถึงคุณภาพข้าวทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง มีการน้าข้าวต่างสายพันธุ์ที่มิใช่สายพันธุ์ข้าวหอมมะลิมาปลูก เกิดปัญหาข้าวปน ขณะที่ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ (พ.ศ. 2556) สหภาพยุโรปได้รับรองการจดทะเบียนข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สิ่งส้าคัญที่สุดคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยรวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้จ้าเป็นต้องเร่งท้าการบ้านเพื่อสร้างหลักประกันคุณภาพข้าวที่ปราศจากการปลอมปน ยังคงอัตตลักษณ์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไว้ให้ได้ มิฉะนั้นในระยาวอาจถูกเพิกถอนการรับรองการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ได้

5. ความเสี่ยง การเปิดรับ ความไวต่อผลกระทบ และกลไกในการรับมือ/ปรับตัวในอนาคต

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต วิถีชีวิตของชุมชนและระบบเกษตรของทุกชุมชนศึกษายังตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงทั้งน้้าท่วมและฝนแล้งที่รุนแรงขึ้นกว่าปัจจุบัน ตลอดจนความเสี่ยงของอุณภูมิอากาศที่สูงขึ้นในอนาคตซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อการปลูกพืชทั้งการท้านาปี การท้านาปรังและพืชผัก การท้านาปีมีความเสี่ยงทั้งน้้าท่วมและฝนทิ้งช่วงในฤดูการเพาะปลูกข้าว การท้านาปรังมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้้าและอุณหภูมิสูงซึ่งส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งและการผสมเกสรของข้าวมากขึ้น และพืชผักเสี่ยงต่อการขาดน้้ามากขึ้นเช่นกัน พื้นที่เปิดรับเพิ่มขึ้นตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น กลไกในการรับมือ/กลไกการปรับตัวในอนาคตซึ่งมีทั้งที่แตกต่างและเหมือนกันในแต่ละชุมชน ซึ่งน้าไปสู่ความเปราะบางของระบบเกษตรที่แตกต่างกันไปในแต่ละชุมชน โดยภาพรวมแล้วกลไกหรือแนวทางการปรับตัวในอนาคตของชุมชนส่วนใหญ่จะเน้นการจัดหาแหล่งน้้าจากภายนอกพื้นที่ การปรับปรุงพื้นที่รับน้้า การจัดท้าระบบชลประทานและระบบควบคุมน้้าและป้องกันน้้าท่วม และการบริหารจัดการน้้าอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตามหากชุมชนไม่สามารถด้าเนินการกลไกในการปรับตัวที่เสนอมาได้ก็จะท้าให้ระบบการเกษตรในพื้นที่มีความเปราะบางสูงมากขึ้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการด้าเนินการของชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต การเสนอกลไกหรือแนวทางการปรับตัวส่วนใหญ่จะคิดเฉพาะแผนงาน/โครงการการด้าเนินการเฉพาะในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองเป็นหลัก ยังไม่มีการมองภาพการลดความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเหมือนกับกลไก/การปรับตัวของชุมชนต่อความแปรปรวนภูมิอากาศที่ผ่านมา ท้าให้ประสิทธิภาพของการปรับตัวต่้า

แต่เมื่อมีการประชุมร่วมกันของตัวแทนทุกชุมชน และน้าแผนงานโครงการของแต่ละชุมชนมาพิจารณาร่วมกัน พบว่า การด้าเนินการหรือการบริหารความเสี่ยงของชุมชนหนึ่ง อาจแก้ปัญหาหรือลดความเสี่ยงในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ แต่มีผลกระทบต่อชุมชนที่ใกล้เคียงหรือชุมชนที่มีพื้นที่ที่อยู่ต่้ากว่า อาทิ การสร้างพนังกั้นน้้าป้องกันน้้าท่วมริมแม่น้้าเสียวใหญ่ สามารถลดปัญหาน้้าท่วมพื้นที่นาข้าวในพื้นที่ตนเองได้ แต่เกิดผลกระทบน้้าท่วมในพื้นที่ที่อยู่ต่้าลงไปซึ่งเป็นพื้นที่ของชุมชนอื่น หรือการสร้างฝายกั้นน้้าในล้าน้้าเสียวใหญ่ในพื้นที่รับผิดชอบของชุมชนหนึ่ง ชุมชนนี้กักเก็บน้้าให้ประชาชนของตนเอง ท้าให้มีน้้าเพียงพอต่อการการท้านาหรือน้้าปะปา ซึ่งลดความเสี่ยงการขาดน้้าในชุมชนตนเองได้ แต่อาจเกิดผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ตอนล่างได้ พื้นที่ตอนล่างมีความเสี่ยงการขาดน้้าเพิ่มขึ้น แม้ว่าชุมชนที่อยู่ตอนล่างจะมีฝายน้้าเช่นชุมชนที่อยู่ตอนบน

ภายหลังการพิจารณาแผนงาน/โครงการการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตของแต่ละชุมชนแล้ว ที่ประชุมมีความเห็นว่า ในการลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตที่มีแนวโน้มที่รุนแรงกว่าในปัจจุบัน หากยังคงคิดแบบเดิมหรือต่างชุมชนต่างท้า ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือลดความเสี่ยงได้ การแก้ปัญหามิอาจมองแบบแยกส่วนแต่ละองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จ้าเป็นต้องด้าเนินการร่วมกันพิจารณาเชิงระบบและบูรณาการร่วมกัน แม้ว่าจะร่วมกันทั้ง 6 ชุมชนก็มิอาจลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด จ้าเป็นต้องมองการแก้ปัญหาทั้งลุ่มน้้าเสียวใหญ่ อาทิ การแก้ปัญหาน้้าท่วม อาจไม่ท้าให้น้้าไม่ท่วมได้ แต่อาจช่วยลดความเสี่ยงน้้าท่วมได้ โดยการติดตั้งท่อระบายน้้าหรือท้าสะพาน เปิดทางน้้าให้น้้าไหลสะดวกขึ้น ท้าให้ระยะเวลาการท่วมขังของน้้าลดลงจาก 1-2 เดือน เหลือ 1-2 สัปดาห์เช่นในอดีต แทนที่ทุกชุมชนจะไปสร้างพนังกั้นน้้าป้องกันน้้าท่วมพื้นที่ตนเอง ซึ่งท้าให้ใช้งบประมาณในการแก้ปัญหาน้อยกว่าด้วย อาจใช้งบประมาณขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นทีก็สามารถด้าเนินการได้

6. ข้อเสนอการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตของกลุ่มชุมชนศึกษา

การประชุมตัวแทนรวมจากทุกองค์การปกคองส่วนท้องถิ่นในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 มีผู้เข้าร่วมประชุมรวมจ้านวน 15 คน ได้ข้อสรุปรวมเกี่ยวกับแนวทางการรับมือภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตดังนี้

1. ด้าเนินการผันน้้าข้ามลุ่มน้้าจากแม่น้้าชีมาเติมลงในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ (ลุ่มน้้าเสียวใหญ่ไม่มีแหล่งน้้าต้นทุน มีเพียงอ่างเก็บน้้าหนองบ่อ ที่อ้าเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ท้าให้ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงและฤดูแล้งไม่มีน้้าเพียงพอต่อการเกษตรและน้้าอุปโภคโดยเฉพาะน้้าดิบส้าหรับผลิตน้้าปะปา)

2. ขุดลอกตะกอนดินในแม่น้้าเสียวใหญ่ แม่น้้าเสียวน้อยและแม่น้้าเตาตลอดล้าน้้า พร้อมมีการบดอัดคันดินริมฝั่งแม่น้้าให้แข็งแรงได้มาตราฐาน

3. พัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ให้มีระบบชลประทานที่สมบูรณ์ พร้อมมีระบบควบคุมน้้าป้องกันและบรรเทาทั้งอุทกภัยและภัยแล้ง

4. ศึกษาวิจัยพืชเศรษฐกิจใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในทุ่งกุลาร้องไห้ นอกเหนือจากข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาวดอกมะลิ 105 พร้อมศึกษาระบบตลาดพืชเศรษฐกิจใหม่

5. การพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือข้าวหอมมะลิส้าหรับปลูกในฤดูนาปรังหรือปลูกนอกฤดูนาปี เพื่อคงอัตตลักษณ์ทุ่งกุลาร้องไห้

6. เปิดเส้นทางหรือขยายทางเดินน้้าในจุดที่เป็นอุปสรรคการไหลของน้้า เพื่อรองรับการไหลของน้้าที่มีมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงน้้าท่วม ท้าให้ระบายน้้าหรือน้้าไหลได้สะดวกและระยะเวลาน้้าท่วมขังลดลง

7. สิ่งที่ควรพิจารณาในการจัดท้าแผนการปรับตัวของชุมชนในระดับท้องถิ่นต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

1. กระบวนการการจัดท้าแผนการปรับตัวระดับชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ควรเริ่มต้นพูดคุยจากเรื่องความเสี่ยงต่อวิถีการด้ารงชีพ (livelihood) และกิจกรรมของชุมชนเป็นหลัก เนื่องจากวิถีการด้ารงชีพของประชาชนจะมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศ และประชาชนจะมีความคุ้นเคยกับเรื่องดังกล่าว

2. การด้าเนินเรื่องแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศไม่ควรแยกแผนงาน\โครงการปรับตัวตัวออกมาเป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกเทศ แต่ควรอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและแหล่งน้้า) หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพียงแต่ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรผนวกและตระหนักเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเข้าไปด้วย

3. บุคคลากรที่มีส่วนส้าคัญในการผลักดันยุทธศาสตร์ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ สมาชิกสภาองค์กรปครองส่วนท้องถิ่น (สอปท) ปลัดอปท นายก อปท. และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน4. การจัดท้าแผนการปรับตัวของชุมชนในระดับท้องถิ่น ควรเน้นการจัดการเป็นระบบร่วมกันหลายชุมชนหรือมองแผนการปรับตัวในระดับลุ่มน้้าย่อย เนื่องจากกลไกในการแก้ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิกาศมักเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเกินก้าลังงบประมาณและองค์ความรู้ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่อาจด้าเนินการได้หากมีความร่วมมือกันหลายๆ อปท. หรืออาจต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกหรือระดับที่สูงกว่า

8. ข้อเสนอแนะในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ศึกษา

ผลจากการศึกษาความเสี่ยง การเปิดรับ ความไวต่อผลกระทบ และกลไกในการรับมือ/ปรับตัวในปัจจุบันและในอนาคต ภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ในอนาคต และภาพฉายการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ภาวะเศรษฐกิจ-สังคมพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอนาคต ทีมวิจัยมีข้อเสนอแนะในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ดังนี้

1. ในอนาคต พื้นที่ปลูกข้าวนาปีมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดน้้าท่วมมากกว่าปัจจุบัน ดังนั้นควรมีการจ้าลองสภาพน้้าท่วม โดยใช้ข้อมูลภูมิอากาศจากแบบจ้าลองภูมิอากาศระดับภูมิภาคหลายแบบจ้าลอง ท้าการจ้าลองสภาพน้้าท่วมโดยค้านึงถึงระดับน้้าท่วมในแต่ละช่วงเวลา โอกาสและความถี่ของเกิดน้้าท่วม น้าผลดังกล่าวมาช่วยในการด้าเนินการวางแผนและจัดระบบการปลูกข้าวในพื้นที่ เพื่อลดการเปิดรับของพื้นที่และลดผลกระทบ ลดความเสี่ยงในการปลูกข้าวนาปีและต้นทุนของเกษตรกร หากพื้นที่ใดมีความเสี่ยงน้้าท่วมและมีความถี่สูง เกษตรกรอาจปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวปลูกให้เหมาะสมกับช่วงเวลาการเกิดน้้าท่วม แต่ยังคงอัตตลักษณ์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการนาสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ปลูกทั้งในฤดูการนาปีและนาปรัง อาทิ พันธุ์ข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ใหม่ "IR77924-62-71-1-2" อายุประมาณ 130 วัน เก็บเกี่ยวก่อนน้้าท่วมและปลูกในฤดูนาปรังได้

2. ในบางปีที่ปริมาณฝนน้อยหรือมีน้้าน้อย การปลูกข้าวนาปีเกิดความเสี่ยงจากฝนทิ้งช่วงในฤดูการเพาะปลูก ควรแนะน้าให้เกษตรกรท้าการหว่านข้าวแห้งร่วมกับวิธีการแกล้งข้าว (ให้น้้าแบบเปียกสลับแห้งในระยะแตกกอ ใช้สาหร่ายสีน้้าเงินแกมเขียวในการควบคุมวัชชพืช) หรือการตัดต้นข้าวในช่วงเดือนกรกฏาคม-กลางเดือนสิงหาคม ซึ่งมีเกษตรกรหลายพื้นที่ในภาคอีสานปฎิบัติกัน อย่างไรก็ตาม อาจต้องท้าการทดลองในพื้นที่ก่อนแนะน้าให้เกษตรกรต่อไป

3. จากข้อมูลแบบจ้าลองการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต ปริมาณน้้าฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ก็มีความแปรปรวนมากขึ้น ปีที่ฝนมีปริมาณต่้าสุด ปริมาณฝนจะน้อยกว่าในปัจจุบันถึง 10 เปอร์เซนต์ แต่ในปีที่ฝนมีปริมาณสูงสุด ปริมาณฝนจะมากกว่าในปัจจุบันถึง 11.56 เปอร์เซนต์ ดังนั้นการปลูกข้าวจึงเสี่ยงทั้งน้้าท่วม ฝนแล้งและฝนทิ้งช่วงกลางฤดู ในบางปีพื้นที่ปลูกข้าวมีโอกาสเสี่ยงต่อภัยแล้งในฤดูกาลเพาะปลูกข้าวเช่นกัน ดังเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการให้ความรู้และฝึกอบรมการเฝ้าระวัง ติดตามการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตรแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานทางวิชาการเองควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์เอนโซ่กับแบบแผนการตกของฝนในพื้นที่ เพื่อพยากรณ์อากาศการเกษตรในระยะยาวที่มีความแม่นย้ามากขึ้น

4. การท้านาปรัง ก่อนเริ่มมีการท้านาปรัง พื้นที่ลุ่มน้้าเสียวใหญ่เองมีปัญหาเรื่องน้้าไม่พอใช้ทั้งการเกษตร อุปโภคและบริโภคเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เนื่องจากทุกภาคส่วนใช้น้้าจากแม่น้้าที่มาจากน้้าฝน น้้าในแม่น้้าเองจะมีน้้าเฉพาะในฤดูฝน ไม่มีน้้าต้นทุนส้าหรับมาเติมในล้าน้้า เมื่อมีการท้านาปรังในพื้นที่ วิกฤตน้้าในพื้นที่มีมากขึ้น หากการท้านาปรังก็ยังคงท้าต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต ทีมวิจัยมีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง กล่าวคือ

แนวทางแรก กรณีอาศัยน้้าฝนอย่างเดียวหรือยังไม่มีน้้าต้นทุนจากภายนอกลุ่มน้้า หากต้องการท้านาปรัง ชุมชนต้องมีการวางแผนการใช้น้้าโดยมีการก้าหนดขอบเขตพื้นที่นาปรังตามปริมาณน้้าในแม่น้้าที่เหลือจากภาคอุปโภคของชุมชน เกษตรกรที่ต้องมีการกักเก็บน้้าไว้ในไร่นาของเกษตรกรในช่วงฤดูฝน ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการท้านาปรังทันทีที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปีหรือน้้าท่วมลดลง และปลูกข้าวโดยวิธีการแกล้งดิน

แนวทางที่สอง กรณีมีการผันน้้าจากแม่น้้าชีมาเติมในลุ่มน้้าเสียวใหญ่ กรมชลประทานและองค์กรปกครองสัวนท้องถิ่นต้องสร้างระบบชลประทานให้สมบูรณ์ จึงสามารถขยายพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังได้มากขึ้น แต่ต้องค้านึงถึงปริมาณน้้าต้นทุนในแต่ละปีด้วย

5. กรมวิชาการเกษตรควรน้าพืชตัวใหม่ เข้ามาทดสอบความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้้าเสียวใหญ่ นอกเหนือจากส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิเพียงอย่างเดียว จะช่วยลดความเสี่ยงของการปลูกข้าวภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต โดยเฉพาะพืชพลังงาน อาทิ ปลูกมันส้าปะหลัง/มันเทศหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ปลูกอ้อยบนพื้นที่นาดอน การท้าการเกษตรผสมผสาน

6. แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในท้องถิ่น ควรเริ่มด้าเนินการตั้งแต่ในระดับชุมชน และด้าเนินการคู่ขนานไปกับแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับประเทศ

 

ดาวน์โหลด: รายงานฉบับสมบูรณ์