You are here: Home / งานวิจัย / โครงการวิจัย / บ้านพักอาศัยพื้นถิ่นกับความสามารถในการรับมือต่อความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

บ้านพักอาศัยพื้นถิ่นกับความสามารถในการรับมือต่อความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

Vernacular Houses and Coping Capacity to Impact of Climate Change:

A Case Study of Riparian Community in Sena District, Phranakhon Si Ayutthaya Province


คณะผู้วิจัย

ชื่อหน่วยงาน
ผศ.ดร.ธาริณี  รามสูต ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ดร.ประติมา นิ่มเสมอ ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ระยะเวลาดำเนินการ

1 ปี  [มีนาคม พ.ศ. 2555 ถึง มีนาคม พ.ศ.2556]

 

รายละเอียดโดยย่อ

การวิจัยนี้เสนอการศึกษากลไกการขับเคลื่อนการปรับตัวของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ทั้งภาวะความแปรปรวนของสภาพอากาศ-climate variation- และภาวะวิกฤต-extreme-) มีระดับการวิเคราะห์ศักยภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศขององค์กรทางสังคมในระดับชุมชน จนถึงเครือข่ายทางสังคม โดยมีสมมติฐานการวิจัยว่ากลไกหลักในการขับเคลื่อนการปรับตัวของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน และเครือข่ายทางสังคม โดยมีภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นทางเลือกในการปรับตัว งานศึกษานี้จึงเน้นชุมชนที่มีความเข้มแข็งของกลไกดังกล่าว ในขณะเดียวกับที่เป็นชุมชนที่มีความเปราะบางในเชิงนิเวศสูง คือชุมชนประมงพื้นบ้านลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง และลุ่มน้ำประแส จังหวัดระยอง ซึ่งทั้ง 2 ชุมชนต่างก็ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หากแต่การเปิดรับผลกระทบระดับพื้นที่ และความอ่อนไหวของระบบเศรษฐกิจสังคมของวิถีประมงพื้นบ้านแตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อถอดบทเรียนการทำงานของกลไกในการขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การออกแบบงานวิจัยจึงเน้นการศึกษาเปรียบเทียบ เครือข่ายชุมชนเข้มแข็งจาก 2 ลุ่มน้ำที่พึ่งพาความหลากหลายของทรัพยากรประมงภายใต้ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่มประมงพื้นบ้าน และกลุ่มองค์กรชุมชนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่ผลลัพธ์ในรูปแบบของตัวชี้วัดความเปราะบางในระดับชุมชนและเครือข่าย ผลการประเมินสภาวะความเปราะบางจากอดีต-ปัจจุบัน และปัจจุบัน-อนาคต กลยุทธ์ในการสร้างขีดความสามารถของชุมชนผ่านองค์กรเข้มแข็งและเครือข่ายทางสังคม ใน 5 องค์ประกอบคือ (1) การสร้างความตระหนักในความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (2) การปรับประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการความเสี่ยง (3) การสร้างองค์ความรู้ในเทคนิควิธีรับมือกับความเสี่ยง (4) การระดมทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อจัดการความเสี่ยง และ(5) การจัดสถาบันในการจัดการความเสี่ยง ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนการปรับตัวผ่านกลไกขององค์กรชุมชนและเครือข่ายทางสังคม ซึ่งเน้นให้เห็นปัจจัยที่จะทำให้การจัดการความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ และปัจจัยที่ทำให้บรรลุผลในการจัดการ

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  • เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่ศึกษา (ชุมชนริมน้ำ อ.เสนา จ. พระนครศรีอยุธยา) ต่อประเด็นภูมิอากาศ และพัฒนาการบ้านพักอาศัยแบบต่างๆ ในชุมชนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
  • เพื่อเปรียบเทียบการเปิดรับ (Exposure) และความอ่อนไหว (Sensitivity) ต่อปัญหาน้ำท่วมของบ้านพักอาศัยแบบต่างๆ ในชุมชน
  • เพื่อประเมินขีดความสามารถในการรับมือ (Coping capacity) ต่อปัญหาน้ำท่วมของบ้านพักอาศัยแบบต่างๆในชุมชมน้ำและภาวะล่อแหลมเปราะบาง (Vulnerability) ของบ้านพักอาศัยภายในชุมชนต่อปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันและอนาคต
  • เพื่อนำเสนอทางเลือกในการปรับตัว (Adaptation) ของบ้านพักอาศัยในชุมชนต่อปัญหาน้ำท่วมในอนาคตและปัจจัยที่จะทำให้การปรับตัวเกิดขึ้น

 

ขั้นตอนการศึกษาและวิธีดำเนินการวิจัย

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยการสำรวจภาคสนาม ณ พื้นที่ศึกษา (ชุมชนริมน้ำ อ.เสนา จ. พระนครศรีอยุธยา) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของบ้านพักอาศัยกับความสามารถในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมเพื่อนำมาเปรียบเทียบความยืดหยุ่นของบ้านรูปแบบต่างๆ ในชุมชนริมน้ำต่อปัญหาน้ำท่วมซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมมุติฐานของงานวิจัยนี้ คือ องค์ความรู้ของบ้านพักอาศัยพื้นถิ่นเป็นทางเลือกหนึ่งที่ส่งผลต่อความสามารถของบ้านพักอาศัยและผู้พักอาศัยในการปรับตัวต่อปัญหาน้ำท่วม

เกณฑ์การเลือกพื้นที่ศึกษาเน้นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดหนหนึ่งที่ประสบปัญหาดังกล่าวมาตลอดเนื่องจากภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน น้ำอำเภอเสนาเป็นอำเภอหนึ่งของ จ.พระนครศรีอยุธยาซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ โดยบ้านพักอาศัยที่จะทำการศึกษาส่วนใหญ่จะอยู่ริมคลองรางจรเข้ ชุมชนคลองรางจระเข้นี้เป็นชุมชนชาวนาที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยบ้านเรือนส่วนใหญ่ในสมัยแรกๆ เป็นเรือนไทยที่เรียงรายอยู่ริมคลอง เนื่องจากความสะดวกในการใช้น้ำจากคลองเพื่อการอุปโภคและบริโภค ดังนั้น น้ำรูปแบบบ้านพักอาศัยริมน้ำจึงมีความหลากหลายและสามารถเห็นการพัฒนาบ้านพักอาศัยโดยภูมิปัญญาชาวบ้านจากอดีตถึงปัจจุบันได้ชัดเจนมากกว่าชุมชนที่ตั้งใหม่อื่นๆ ชุมชนคลองจรเข้ อ.เสนา   จ.พระนครศรีอยุธยาจึงถูกเลือกมาเพื่อเป็นตัวแทนของชุมชนไทยริมน้ำในบริเวณที่ลุ่มภาคกลางในงานวิจัยชิ้นนี้

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยในส่วนต่างๆ มีดังนี้

ส่วนที่ 1 ( การศึกษาบริบทของพื้นที่ศึกษา (ชุมชนริมน้ำ อ.เสนา จ. พระนครศรีอยุธยา) ต่อประเด็นภูมิอากาศ และพัฒนาการบ้านพักอาศัยแบบต่างๆ ในชุมชนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ศึกษา

2. รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของบ้านพักอาศัย ในพื้นที่ศึกษา เช่น น้ำตำแหน่งที่ รูปแบบต่างๆ ของบ้านพักอาศัย และจำนวนของบ้านพักอาศัยที่สร้างในรูปแบบต่างๆ ลักษณะการใช้พื้นที่ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดรูปแบบบ้านพักอาศัย (สภาพภูมิอากาศ สภาพเศรษฐกิจ และสังคม)

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. วิเคราะห์พัฒนาการของบ้านพักอาศัยในชุมชนริมน้ำจากอดีตมาจนปัจจุบันน้ำและจำแนกรูปแบบหลักของบ้านพักอาศัยที่มีอยู่ในพื้นที่ศึกษาในปัจจุบันน้ำทั้งบ้านพักอาศัยแบบพื้นถิ่นและบ้านพักอาศัยสมัยใหม่

2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของบ้านพักอาศัยในพื้นที่ศึกษากับสภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศและปัจจัยอื่นๆ

ส่วนที่ 2 การเปรียบเทียบการเปิดรับ (Exposure) และความอ่อนไหว (Sensitivity) ต่อปัญหาน้ำท่วมของบ้านพักอาศัยแบบต่างๆ ในชุมชน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลน้ำท่วมในภาพรวมของบริเวณที่ศึกษาจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันน้ำสำรวจเก็บข้อมูลจากบ้านพักอาศัยในพื้นที่ศึกษาในประเด็นของ

1. ระดับความเสียหายจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นต่อบ้านพักอาศัย

2. องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ถูกน้ำมาใช้ในบ้าน้ำเช่น้ำลักษณะหลังคา ช่องเปิด โครงสร้าง การยกพื้น

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. วิเคราะห์การเปิดรับต่อปัญหาน้ำท่วม (Exposure) ของพื้นที่ศึกษาและบ้านพักอาศัยในพื้นที่ศึกษา

2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมกับตัวแปรทางองค์ประกอบสถาปัตยกรรม เพื่อประเมินความอ่อนไหว (Sensitivity) ของบ้านพักอาศัยอันสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เลือกใช้

ส่วนที่ 3 การประเมินขีดความสามารถในการรับมือ (Coping capacity) ต่อปัญหาน้ำท่วมของบ้านพักอาศัยแบบต่างๆในชุมชมน้ำและภาวะล่อแหลมเปราะบาง (Vulnerability) ของบ้านพักอาศัยภายในชุมชนต่อปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันและอนาคต

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ประชุมระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อรวบรวมข้อมูลแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของพื้นที่ศึกษา

2. สำรวจเก็บข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ศึกษาที่อาศัยในบ้านรูปแบบต่างๆในประเด็นของ ทัศนคติของชาวบ้านต่อปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ และแนวทางที่ชาวบ้านใช้ในการรับมือกับปัญหาน้าท่วม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นน้ำและระดับค่าใช้จ่ายที่ชาวบ้านสามารถจ่ายได้เพื่อปรับปรุงบ้านอันเนื่องมาจากปัญหาน้ำท่วม

การวิเคราะห์ข้อมูล

เปรียบเทียบความสามารถในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมของบ้านพักอาศัยรูปแบบหลักในพื้นที่ศึกษาในปัจจุบันและอนาคต และภาวะล่อแหลมเปราะบางของชุมชนต่อปัญหาน้ำท่วม

ส่วนที่ 4  เพื่อนำเสนอทางเลือกในการปรับตัวของบ้านพักอาศัยในชุมชนต่อปัญหาน้ำท่วมในอนาคตและปัจจัยที่จะทำให้การปรับตัวเกิดขึ้น

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์ความรู้และปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม

2. ประชุมระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเกณฑ์ในการประเมินทางเลือกในการออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อรับมือปัญหาน้ำท่วม

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. ประเมินทางเลือกในการออกแบบบ้านพักอาศัยเพื่อให้สามารถปรับตัวต่อปัญหาน้ำท่วม

2. น้ำเสนอทางเลือกสำหรับการออกแบบหรือดัดแปลงบ้านพักอาศัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่ศึกษาและชุมชนอื่นๆ ที่มีปัญหาต่อน้ำท่วมใกล้เคียงกันเพื่อเป็นคู่มือในการสร้างหรือปรับปรุงบ้าน้ำเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึงอาจจะไม่ใช่แค่ปัญหาน้ำท่วม อาทิ เช่น น้ำแนะนำการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เหมาะสมสำหรับบ้านที่มีความเสียงต่อน้ำท่วมหรืออากาศร้อนน้ำรูปแบบบ้านที่เหมาะสมกับทำเลที่ตั้งที่ติดน้ำและน้ำท่วมเป็นประจำ หรือบ้านที่ตั้งอยู่บริเวณที่น้ำท่วมนานๆ ครั้ง การปรับบ้านให้มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์น้ำท่วม เป็นต้นน้ำผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการดำเนินงานวิจัยเสร็จสิ้นที่เป็นรูปธรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ คือ เล่มงานวิจัยเสนอแนะแนวทางในการออกแบบและปรับปรุงบ้านพักอาศัยสำหรับชุมชนริมน้ำบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยที่เอื้ออำนวยกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วม ข้อมูลการปรับตัวของชุมชนและชาวบ้านต่อปัญหาน้ำท่วมที่เกี่ยวข้องกับบ้านพักอาศัยและข้อมูลที่ทำให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มีผลต่อบ้านพักอาศัยและเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต เศรษฐกิจสังคมผู้ใช้หลักงานวิจัยนี้ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ใกล้เคียง และประชาชนทั่วไปที่ตังบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมในทำนองเดียวกันกับพื้นที่ศึกษา หากเป็นไปได้และมีเวลาเพียงพอนักวิจัยจะร่วมมือกับผู้น้ำชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นในการจัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้และเสนอแนะทางเลือกในการสร้างและซ่อมแซมบ้านตามผลที่ได้จากงานวิจัยให้มีการน้ำไปปฏิบัติจริง และติดตามผลในเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง


Sena-Home Ayuthaya DrawingSena-Home Ayuthaya

ภาพตัดขวาง และผังพื้น เรือนไทยปรับปรุง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

 

สรุปผลการศึกษา

บ้านพื้นถิ่นเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งผ่านการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆของอาคารมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานเพื่อให้เหมาะสมกับภูมิอากาศและภูมิประเทศของประเทศไทยในอดีต ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงจึงเป็นพื้นที่ที่เปิดรับความเสี่ยงน้ำท่วมมาแต่อดีต ชุมชนริมน้ำมีบ้านพักอาศัยและการประกอบอาชีพที่ผูกพันกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศอย่างใกล้ชิด ความแปรปรวนของอากาศภายใต้อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันเป็นผลกระทบของภาวะโลกร้อนอาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมที่มีผลกระทบรุนแรงมากขึ้น นำมาซึ่งปัญหาต่อบ้านพักอาศัยในชุมชนริมน้ำ จึงทำให้เกิดคำถามถึงรูปแบบบ้านที่เหมาะสมในการรับมือกับน้ำท่วม งานวิจัยนี้ได้เลือกพื้นที่ศึกษาเป็นชุมชนริมน้ำ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ดังกล่าวเป็นตัวแทนของพื้นที่ราบลุ่มในภาคกลางที่ประสบภาวะน้ำท่วมบ่อยครั้งและถูกใช้เป็นพื้นที่รับน้ำ นอกจากนี้ชุมชนดังกล่าวยังเป็นชุมชนไทยดั้งเดิมที่มีการพัฒนารูปแบบบ้านมาเป็นเวลานานและมีความหลากหลาย ซึ่งเหมาะกับการเปรียบเทียบขีดจำกัดในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของบ้านรูปแบบต่างๆ งานวิจัยได้ทำการศึกษาโดยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจบ้านพื้นถิ่นรูปแบบต่างๆในพื้นที่เพื่อศึกษาพัฒนาการของบ้านพักอาศัยในชุมชน ความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และประเด็นอื่นๆ  และความเสี่ยงจากน้ำท่วม พบว่าในวิถีชีวิตแบบเดิมที่อยู่ในบ้านใต้ถุนสูง ทำอาชีพเกษตรกรรม และสัญจรทางน้ำเป็นหลก น้ำท่วมที่เกิดขึ้นประจำทุกปีไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงเท่าใดนัก แต่เมื่อวิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไปทำให้สอดคล้องกับสภาพน้ำท่วมในชุมชนลดลงทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในประเด็นต่างๆ คือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านพักอาศัยโดยตรง ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินในบ้าน ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโอกาสการประกอบอาชีพ ปัจจัยที่ทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวสูงขึ้นนั้นเกิดมากจากการประกอบอาชีพที่เปลี่ยนไปสัมพันธ์กับสภาพน้ำน้อยลง ความสำคัญของการสัญจรทางถนนที่เข้ามาทดแทนการสัญจรทางน้ำ และความนิยมในการสร้างบ้านพักอาศัยเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตสมัยใหม่โดยขาดการคำนึงถึงความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เป็นที่ราบลุ่มและเขตร้อนชื้น งานวิจัยนี้ยังได้สำรวจเก็บความเสียหายจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นต่อบ้านพักอาศัยเพื่อประเมินความอ่อนไหวต่อปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เลือกใช้ โดยใช้ความเสียหายจากน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2554 เป็นกรณีศึกษา นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และความเร็วลมภายในบ้านพักอาศัยเพื่อประเมินความสบายเชิงอุณหภูมิภายในบ้าน จากผลการสำรวจ งานวิจัยนี้ได้ประเมินทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดของบ้านพักอาศัยที่มีความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยเฉพาะประเด็นของน้ำท่วมโดยอาศัยเกณฑ์ 3 ประการด้วยกัน คือความทนทานในการรับมือกับน้ำท่วม ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ และความสอดคล้องกับภูมิอากาศในบริบทของชุมชนริมน้ำ ซึ่งได้ข้อสรุปว่า รูปแบบของบ้านที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือ มีความทนทานต่อน้ำท่วมที่มีระดับน้ำสูง มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่ไม่แพงมากจนเกินไปและเอื้ออำนวยให้เกิดสภาวะสบายทางอุณหภูมิน่าจะเป็นบ้านโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาเตี้ยชั้นเดียวมีใต้ถุน บ้านรูปแบบนี้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความทนทานแข็งแรงและเสียหายน้อยกว่าไม้เมื่อเกิดน้ำท่วม อย่างไรก็ตามบ้านรูปแบบนี้ใช้วัสดุที่มีความจุความร้อนสูง และมีความโปร่งโล่งน้อยกว่าบ้านที่เป็นฝาไม้ซึ่งระบายอากาศดี ทำให้บ้านในรูปแบบนี้มีความเร็วลมในบ้านน้อยกว่า ความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิของอากาศในบ้านสูงกว่าบ้านที่ใช้ฝาไม้ ผลของการศึกษาชี้ให้เห็นว่าในสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน บ้านที่เหมาะสมกับชุมชนริมน้ำที่น้ำท่วมเป็นประจำและน้ำท่วมในระดับที่สูง จึงควรประยุกต์องค์ความรู้ในการก่อสร้างบ้านพื้นถิ่นโดยใช้รูปแบบของบ้านพื้นถิ่นที่มีใต้ถุนสูงแต่ใช้วัสดุใหม่ที่มีความคงทนสูงกว่าและราคาต่ำกว่า

 

ดาวน์โหลด: รายงานฉบับสมบูรณ์