You are here: Home / งานวิจัย / โครงการวิจัย / ความเปราะบาง การสื่อสารความเสี่ยง และการปรับตัวของเกษตรกรในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

ความเปราะบาง การสื่อสารความเสี่ยง และการปรับตัวของเกษตรกรในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

Vulnerability, Risk Communication and Adaptation to Climate Change Impact on Water Management in Agricultural Communities: Case study in Bangnampriao District, Chacherngsao Province

 

คณะผู้วิจัย

ชื่อหน่วยงาน
ดร.จารุวรรณ เกษมทรัพย์ ภาควิชาการจัดการงานวิศวกรรม, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ผศ. มณี พนิชการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ดร. ศศิพรรณ บิลมาโนช คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
พันเอกหญิงวโรชา  สุทธิรักษ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

 

ระยะเวลาดำเนินการ:

10 เดือน [กันยายน 2554 - มิถุนายน 2555]

 

รายละเอียดโดยย่อ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อความแปรปรวนของปริมาณฝน อุณหภูมิและระดับน้ำทะเล ซึ่งส่งผลต่อเนื่องต่อทรัพยากรน้ำในเชิงคุณภาพและปริมาณ เนื่องจากปริมาณฝนตกน้อยลงหรือทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำผิวดิน หรืออุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการระเหยของน้ำจากพืชและแหล่งน้ำผิวดิน ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำลำคลองลดลง และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น จะส่งผลให้ความเค็มปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ดังนั้นปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นในการจัดสรรทรัพยากรน้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อัตราการใช้น้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น พื้นที่ในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ในแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก และ แผนการพัฒนาเมืองบริวารของกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ดีร้อยละ 90 ของการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ประมงน้ำจืด และปศุสัตว์ นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังได้รับจากอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนผ่านทางแม่น้ำบางปะกง ส่งผลให้สภาพน้ำในลำคลองต่างๆเป็นน้ำกร่อย ดังนั้นการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดัชนีความเปราะบางในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนเกษตรกรในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตลอดจนการสื่อสารความเสี่ยง และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวของชุมชนเกษตรกรในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ และสังคม

การวิจัยในครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึงมีการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม โดยแหล่งน้ำในธรรมชาติ เช่น แม่น้ำบางปะกง คลองประเวศบุรีรมย์ คลองบางขนาก โดยระบบชลประทานซึ่งรับผิดชอบโดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์เจ้าไชยานุชิต ในการควบคุมระดับน้ำในช่วงฤดูฝน ฤดูแล้ง เพื่อกักเก็บน้ำในลำคลองสำหรับการทำเกษตรกรรมและการอุปโภคบริโภค การระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนป้องกันน้ำเค็มไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ทำการเกษตร ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราประกอบอาชีพทำนา 323,085 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 90 และยกร่องปลูกไม้ผล ได้แก่ มะม่วง มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน มะพร้าว และหมาก เป็นต้น  ปัญหาภัยแล้ง จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม  ของทุกปี  เนื่องจากปริมาณของน้ำฝนมีน้อยและแม่น้ำบางปะกงมีความเค็มเกินระดับ  ไม่สามารถนำมาใช้ในการอุปโภค  บริโภค  หรือเพื่อการเกษตร  ประกอบกับพื้นที่อำเภอเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเกษตร  ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา  สามารถทำนาได้   5  ครั้งในช่วง  2  ปี  จึงต้องใช้น้ำในปริมาณมาก  ทำให้น้ำไม่เพียงพอ  ในขณะที่ปัญหาน้ำท่วม จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน  ของทุกปี  เนื่องจากมีฝนตกมาก  และพื้นที่อำเภอติดกับเขตกรุงเทพฯ  จึงต้องรับน้ำจากทางเหนือที่ไหลลงสู่กรุงเทพฯ  กรมชลประทานจะปัดน้ำให้ไหลผ่านเข้าเขตอำเภอเพื่อออกสู่แม่น้ำบางปะกง  เป็นการระบายน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษา ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2554b) พบว่า หมู่บ้านที่มีค่าความอ่อนไหว (Sensitivity) สูงต่อการเกิดปัญหาภัยแล้งในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว คือ บ้านคลอง 21 ตำบลดอนเกาะกา และบ้านคลองหกวา ตำบลดอนเกาะกา ในขณะที่หมู่บ้านที่มีความสามารถในการตั้งรับและปรับตัวสูง คือ ชุมชนบ้านประสิทธิ์สุข ตำบลบางขนาก  นอกจากนี้ สุจริต คูณธนกุลวงศ์  (2553) ได้ศึกษาผลกระทบจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการบริหารจัดการน้ำในภาคตะวันออก พบว่า ในอนาคต ปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมีแนวโน้มลดลงร้อยละในช่วง 27.04 – 41.76 (เนื่องจากปริมาณฝนลดลง)  และลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่มีสภาพความขาดแคลนน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น   ประกอบกับ อำเภอบางน้ำเปรี้ยวจัดอยู่ในแนวเขตของแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก แผนพัฒนาเมืองบริวารกรุงเทพมหานคร นั้นคือ ในอนาคต ความเจริญทางเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนในอำเภอบางน้ำเปรียว โดยเฉพาะ ชุมชนเกษตรกร ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคม และมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ง่าย  ดังนั้นการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดัชนีความเปราะบางในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนเกษตรกรในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในด้านปัจจัยเปิดรับทางภูมิอากาศ (Exposure)  ความอ่อนไหว (Sensitivity) และมาตรการรับมือ (Coping Capacity) ตลอดจนการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และความตระหนัก ให้แก่เกษตรกร เกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของเกษตรกร จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจ สังคม ในปัจจุบันและอนาคต และเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวของชุมชนเกษตรกรในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ และสังคมเหล่านั้น

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  • เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ดัชนีปัจจัยเปิดรับผลกระทบ  (Exposure)  ความอ่อนไหว (Sensitivity) และ มาตรการรับมือ (Coping Capacity) ของความเปราะบางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว  จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สภาพเศรษฐกิจและสังคม
  • เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และความตระหนัก ให้แก่เกษตรกร เกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของเกษตรกร จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจ สังคม ในปัจจุบันและอนาคต ในพื้นที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา  เพื่อลดความเสี่ยง จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐกิจ และสังคม

 

กรอบแนวคิด

 

Chacherngsao FrameWork

 

ขั้นตอนการศึกษาและวิธีดำเนินการวิจัย

 

Chacherngsao Research Method

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • องค์ความรู้ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของ 10 หมู่บ้านนำร่อง ในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • อาสาสมัครชุมชนด้านการจัดการทรัพยากรน้ำและภัยธรรมชาติ ที่มีจิตสาธารณะ มีทักษะเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยในการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรน้ำและมีภาวะความเป็นผู้นำสูงจากชุมชนนำร่องที่ศึกษาในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

สรุปผลการศึกษา

ความเปราะบางของเกษตรกรในอาเภอบางน้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ในปัจจุบัน โดยเกษตรกรชาวนา ชาวสวน ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้า ในหมู่ 1 บ้านบางเชือกเขา ตาบลโยธะกา มีความเปราะบางสูงจากปัญหาอุทกภัย ในขณะที่เกษตรกรชาวนา ชาวสวน ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้า ในหมู่ 1 บ้านบางเชือกเขา หมู่ 2 บ้านนาคา หมู่ 11 บ้านท่าช้าง ตาบลโยธะกา หมู่ 9 บ้านคลองหกวา หมู่ 10 บ้านคลองหกวา ตาบลดอนเกาะกา หมู่ 10 บ้านพงษ์กระถิน ตาบลโพรงอากาศ และหมู่ 18 บ้านประจารัง ตาบลบางขนาก ตาบลโยธะกา มีความเปราะบางสูงจากปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้าเค็มหนุน ซึ่งจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต จากแบบจาลองภูมิอากาศระดับโลก ECHAM 4 A2 ในช่วงปี พ.ศ. 2583-2602 พบว่า ปริมาณฝนรวมรายปีเฉลี่ยของลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนล่างและลุ่มน้าป่าสักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปริมาณฝนในช่วงฤดูฝนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณฝนในช่วงฤดูแล้งมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดและต่าสุดมีแนวโน้มสูงขึ้น ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของระดับน้าทะเลเฉลี่ยรายปีบริเวณอ่าวไทยตอนใน จากแบบจาลอง DIVA และ POM ในช่วงเวลา พ.ศ. 2553 – 2572 และ พ.ศ. 2573 – 2592 พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 9.41 และ 20.02 เซนติเมตร ตามลาดับ ทาให้ปัญหาการรุกของน้าเค็มในแม่น้าบางปะกงเพิ่มสูงขึ้น นั้นคือ ความเปราะบางของเกษตรกรชาวนา ชาวสวน ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้า ในพื้นที่ที่มีเสี่ยงสูง ของอาเภอบางน้าเปรี้ยวมีแนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้น

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงในอนาคตทางเศรษฐกิจและสังคมอาเภอบางน้าเปรี้ยว เช่น แผนพัฒนาเมืองบริวารกรุงเทพมหานคร การขยายตัวของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก จะส่งผลกระทบ ทาให้เกิดการขาดแคลนน้าในการเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆในอนาคตเหล่านี้ จาเป็นต้องมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรในอาเภอบางน้าเปรี้ยวอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีความตระหนักถึงความเสี่ยง และวางแผนยุทธศาสตร์ในระดับชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยการพัฒนาสื่อและรูปแบบของการสื่อสารความเสี่ยงแก่เกษตรกรในการบริหารจัดการทรัพยากรน้า โดยพบว่าสื่อบุคคลจะสร้างความเข้าใจได้มาก และโน้มน้าวใจให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมได้ในระดับปานกลาง ในขณะที่สื่อเกมส์การ์ตูนจะสามารถโน้มน้าวใจให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรมได้ ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกันยุทธศาสตร์การปรับตัวในการบริหารจัดการน้าของเกษตรกรในอาเภอบางน้าเปรี้ยวจากกระบวนการเรียนรู้โดยผ่านสื่อเกมส์การ์ตูน พบว่าเกษตรกรในอาเภอบางน้าเปรี้ยว จะเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว และลดปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาอุทกภัย โดยการทาคันกั้นน้าเพื่อป้องกันน้าท่วม ขุดลอกคูคลองเพื่อปรับปรุงสภาพลาน้า ยกร่องสวนให้สูงขึ้น ทารางระบายน้าเพื่อระบายน้าออกจากพื้นที่ และล้อมบ่อด้วยมุ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาและกุ้งว่ายออกจากบ่อ การปลูกพืชระยะสั้น ปลูกข้าวขึ้นน้า ปลูกพืชทนน้า หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์น้าในช่วงฤดูฝน แปรรูปสินค้าเกษตร การรับจ้างใช้แรงงานนอกพื้นที่ จับปลาในแหล่งน้ามาขาย การเลี้ยงกบในกระชังมากขึ้น

ในขณะที่ปัญหาภัยแล้ง เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจะปรับตัวโดยการขุดสระน้าเพื่อใช้ในฤดูแล้ง การปลูกพืชระยะสั้น ปลูกพืชทนแล้ง แปรรูปผลผลิต การรับจ้างใช้แรงงานนอกพื้นที่ จับกุ้งในแหล่งน้ามากขึ้น ตลอดจนปัญหาน้าเค็มหนุน เกษตรกรจะปรับตัวโดยการปลูกพืชทนเค็ม การปลูกพืชระยะสั้น เลี้ยงกุ้งมากขึ้น แปรรูปผลผลิต รับจ้างใช้แรงงานนอกพื้นที่ แนวทางในการปรับตัวดังกล่าว จะทาให้ความเปราะบางในพ้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงลดลงจากระดับความเปราะบางสูงมาอยู่ในระดับปานกลาง ตลอดจนแผนบริหารจัดการน้าในอาเภอบางน้าเปรี้ยว จะช่วยลดความเปราะบางลงได้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาอุทกภัยในตาบลโยธะกาได้เท่านั้น นั้นคือ เกษตรกรชาวนา ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้า ยังคงมีความเสี่ยงสูงจากปัญหาภัยแล้งและน้าเค็มหนุน ดังนั้นภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเร่งให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างระบบชลประทานในพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งน้าต้นทุนในการเกษตรเพิ่มขึ้น

จากการถอดบทเรียนจากการศึกษาวิจัย พบว่า ข้อจากัดในการเข้าถึงข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากนักวิชาการอาวุโส มักไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ตลอดจนข้อมูลบางแหล่งมีการคัดลอกมา โดยไม่มีการเก็บรวบรวมใหม่ ทาให้ต้องมีการตรวจสอบก่อนนามาใช้ ตลอดจนเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากเกษตรกรชาวนา ชาวสวน และผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้า เพื่อศึกษาความเปราะบางของต่อปัญหาภัยแล้ง อุทกภัย และน้าทะเลหนุน ทั้งในระดับตาบลและหมู่บ้าน ควรใช้การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แทนการใช้แบบสอบถาม เพื่อสร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้วิจัยและผู้ให้ข้อมูล เนื่องจากการสัมภาษณ์ การสนทนา จะสามารถรับรู้ได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกที่คนในชุมชนได้รับจากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ การสนทนาอาจเริ่มต้นโดยถามเกี่ยวกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ แล้วชุมชนจะเล่าเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นกันเอง โดยจานวนผู้เข้าร่วมในการสนทนาไม่ควรเกิน 25 คน เพื่อกระจายความสนใจให้กับทุกคน ให้บุคคลเหล่านั้นได้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการวิจัยและกล้าเล่าเรื่องราวต่างๆ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเขียนเป็นแผนผังเชื่อมโยงเพื่อให้ง่ายต่อการนามาเรียบเรียงใหม่ได้และหัวข้อในการสนทนาไม่ควรเป็นไปตามแบบฟอร์ม โดยผู้วิจัยควรมีจิตวิทยา และทักษะในการพูดคุยกับชุมชน และต้องพยายามสรุปประเด็นการสนทนา เพื่อไม่ให้ใช้ระยะเวลานานเกิน 2 ชั่วโมง

นอกจากนี้ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกร โดยการใช้สื่อบุคคล จะต้องไม่ใช้ภาษาที่วิชาการมากเกินไป และไม่ควรใช้ระยะเวลาเกิน 30 นาที โดยต้องมีรูปภาพ ประกอบให้ชัดเจน พยายามให้เนื้อหาในการสื่อสารใกล้เคียงกับชีวิตประจาวันของคนในชุมชนให้มากที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข และระหว่างที่มีการสื่อสาร ควรมีการสุ่มตัวอย่างคนในชุมชนเพื่อถามคาถาม และเพื่อดึงดูดให้ผู้เข้าร่วมสนใจเนื้อหาของสื่อตลอดเวลาอย่างไรก็ดี เกษตรกรในชุมชน ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจแผนที่ชุมชน เพื่อสื่อสารตาแหน่งต่างๆ ของชุมชนดังนั้นจึงอาจให้คนในชุมชนช่วยกันคิด ช่วยกันวาดภาพ แล้วผู้วิจัยนามาเรียบเรียงใหม่เองได้ นอกจากนี้กระบวนการสัมภาษณ์เกษตรกร หรือระดมความคิดเห็นจากเกษตรกร เพื่อให้เสนอแนะแนวทางการปรับตัวของชุมชน ไม่เหมาะสมกับเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรขาดความรู้และไม่มีความมั่นใจในแนวทางการปรับตัว ดังนั้น การพัฒนากระบวนการใหม่โดยใช้เกมส์เพื่อสื่อสารและกระบวนการกระตุ้นให้คนในชุมชนได้กล้าที่จะคิดนอกกรอบ และมีความเป็นไปได้ในอนาคต ในมุมมองของเกษตรกร อีกทั้งสามารถนาไปทดลองซ้าในชุมชนอื่น และจะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมในการคิดหาแนวทางปรับตัว และนาไปสู่ภาครัฐในการออกนโยบายเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ชุมชนเกษตรกรมีความยั่งยืนในการดาเนินชีวิตมากขึ้น

 

ดาวน์โหลด: รายงานฉบับสมบูรณ์